ขั้นตอนการขอตรวจรับการประเมิน

ขั้นตอนการรับคำขอและทบทวนคำขอการรับรอง

  1. รายละเอียดการปฏิบัติงาน
    • เจ้าหน้าที่ฝ่ายรับรอง รับคำขอตามแบบรับคำขอรับรองระบบการผลิตพืช GAP (FM-01) หรือแบบคำขอรับรองระบบการผลิตพืช GAP แบบกลุ่ม (FM-02) หรือแบบคำขอแจ้งการแก้ไขเปลี่ยนแปลง (FM-03) และเอกสารประกอบคำขอ เช่น สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคำขอ แผนที่ตั้งแปลง หลักฐานการจดทะเบียนนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล/องค์กร) หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ หลักฐานการครอบครองที่ดินของสมาชิก เช่น โฉนดที่ดิน สัญญาเช่า หรือการรับรองสิทธิจากเจ้าของที่หรือผู้นำท้องถิ่น ตามแบบฟอร์มหนังสือรับรองการใช้ประโยชน์ที่ดินในการผลิตพืช (FM-05)
    • เจ้าหน้าที่ฝ่ายรับรองทวนสอบข้อมูลเกี่ยวกับการรับคำขอการรับรอง ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของคำขอ และเอกสารประกอบ ขอบข่าย คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ และบันทึกผลการตรวจสอบเอกสารประกอบคำขอในแบบทวนสอบข้อมูลเกี่ยวกับการรับคำขอการรับรอง (กรณีแบบเดี่ยว) (FM-06) หรือ แบบทวนสอบข้อมูลเกี่ยวกับการรับคำขอการรับรอง (กรณีแบบกลุ่ม) (FM-07) และจัดทำสำเนา ส่งให้แก่ผู้ยื่นคำขอ โดยแบ่งเป็น 3 กรณี ดังนี้
  • กรณีเอกสารประกอบคำขอไม่ครบถ้วน ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอทราบตามแบบทวนสอบข้อมูลเกี่ยวกับการรับคำขอการรับรอง (กรณีแบบเดี่ยว) (FM-06) หรือ แบบทวนสอบข้อมูลเกี่ยวกับการรับคำขอการรับรอง (กรณีแบบกลุ่ม) (FM-07) เพื่อจัดส่งเอกสารประกอบคำขอให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด
  • กรณีผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน หรือไม่มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ หรือไม่อยู่ในขอบข่ายที่ ศร.มรร.ให้บริการ ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอว่าไม่สามารถดำเนินการพิจารณาคำขอได้ตามแบบทวนสอบข้อมูลเกี่ยวกับการรับคำขอการรับรอง (กรณีแบบเดี่ยว) (FM-06) หรือแบบทวนสอบข้อมูลเกี่ยวกับการรับคำขอการรับรอง (กรณีแบบกลุ่ม) (FM-07) และหากประสงค์จะขอรับการรับรอง ให้ยื่นคำขอใหม่เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วน
  • กรณีผู้ยื่นคำขอ มีคุณสมบัติครบถ้วน ให้ลงเลขที่รับคำขอ จากนั้นลงเลขที่รับคำขอในทะเบียนการรับคำขอ (FM-04)

 

ทั้งนี้ คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอมีรายละเอียด ดังนี้

คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอกรณีการรับรองแบบเดี่ยว

  • คุณสมบัติของผู้ผลิตแบบเดี่ยว
  • ต้องเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือสิทธิครอบครองพื้นที่การผลิต หรือเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าของหรือผู้ถือสิทธิครอบครองให้ดำเนินการ หรือได้รับการรับรองจากผู้นำท้องถิ่น
  • เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  • เป็นผู้สมัครใจขอรับการรับรอง และยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่ ศร.มรร. กำหนด
  • ไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนการรับรองจาก ศร.มรร. ในแปลงที่ยื่นขอรับรอง เว้นแต่พ้นระยะเวลา 6 เดือนนับจากวันที่เพิกถอนการรับรองมาแล้ว
  • ต้องมีการนำระบบการผลิตพืช GAP ตามมาตรฐานมาตรฐานสินค้าเกษตรการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ. 9001-2556) หรือมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะพร้าวน้ำหอม (มกษ. 1001-2551) หรือมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเห็ดฟาง (มกษ. 2505-2555) ไปปฏิบัติแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนยื่นขอการรับรอง

 

  • คุณสมบัติของนิติบุคคล
  • เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนนิติบุคคลถูกต้องตามกฎหมาย
  • ต้องเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือสิทธิครอบครองพื้นที่การผลิต หรือเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าของ หรือผู้ถือสิทธิครอบครองให้ดำเนินการ
  • เป็นนิติบุคคลที่สมัครใจขอรับการรับรอง และยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่ ศร.มรร. กำหนด
  • ไม่เป็นนิติบุคคลที่ถูกเพิกถอนการรับรองจาก ศร.มรร. ในแปลงที่ยื่นขอรับรองเว้นแต่พ้นระยะเวลา 6 เดือนนับจากวันที่เพิกถอนการรับรองมาแล้ว
  • ต้องมีการนำระบบการผลิตพืช GAP ตามมาตรฐานมาตรฐานสินค้าเกษตรการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ. 9001-2556) หรือมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตร
    ที่ดีสำหรับมะพร้าวน้ำหอม (มกษ. 1001-2551) หรือมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเห็ดฟาง (มกษ. 2505-2555) ไปปฏิบัติแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนยื่นขอการรับรอง
  • ต้องไม่เป็นนิติบุคคล ซึ่งมีสถานะล้มละลาย

คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอกรณีการรับรองแบบกลุ่ม

  • ผู้ผลิตแบบกลุ่มต้องมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนนิติบุคคลถูกต้องตามกฎหมาย โดยแบ่งเป็น
    • กรณีเป็นกลุ่มผู้ผลิต จะต้องเป็นกลุ่มที่มีสมาชิกอย่างน้อย 5 รายขึ้นไป เพื่อทำการผลิตพืชตามมาตรฐาน GAP และที่ตั้งแปลงอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน
    • กรณีเป็นนิติบุคคล คือ ผู้รับผิดชอบบริหารจัดการกลุ่ม รับซื้อ จัดจำหน่ายผลผลิตจากผู้ผลิตแบบกลุ่ม รวมทั้งการกำกับดูแลในเรื่องระบบควบคุมภายในให้แก่กลุ่ม
  • สมาชิกในกลุ่ม หรือนิติบุคคลต้องเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือสิทธิครอบครองพื้นที่การผลิต หรือเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าของ หรือผู้ถือสิทธิครอบครองให้ดำเนินการ หรือได้รับการรับรองจากผู้นำท้องถิ่น
  • เป็นกลุ่มที่สมัครใจขอรับการรับรอง และยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ ที่ ศร.มรร. กำหนด
  • ไม่เป็นกลุ่มที่ถูกเพิกถอนการรับรองจาก ศร.มรร. ในแปลงที่ยื่นขอรับรอง เว้นแต่พ้นระยะเวลา 6 เดือนนับจากวันที่เพิกถอนการรับรองมาแล้ว
  • ต้องมีการนำระบบการผลิตพืช GAP ตามมาตรฐานมาตรฐานสินค้าเกษตรการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร (มกษ. 9001-2556) หรือมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะพร้าวน้ำหอม (มกษ. 1001-2551) หรือมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเห็ดฟาง (มกษ. 2505-2555) หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่ ศร.มรร. ให้การยอมรับ และนำระบบควบคุมภายในไปปฏิบัติแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนยื่นขอการรับรอง

หมายเหตุ 

กรณีพบว่าข้อมูลหรือเอกสารยังไม่เพียงพอ ไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง ให้แจ้งผู้ยื่นคำขอ เพื่อดำเนินการขอข้อมูลเพิ่มเติม โดยยังไม่พิจารณาดำเนินการรับคำขอ

ผู้ลงนามในคำขอขอรับการรับรองของผู้ผลิตแบบเดี่ยว/ผู้ผลิตแบบกลุ่ม ต้องเป็นเกษตรกร หรือ
ผู้มีอำนาจในการลงนามทางกฎหมายของผู้ผลิตแบบเดี่ยว/ผู้ผลิตแบบกลุ่มนั้นๆ หรือได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน

กรณีที่ผู้ยื่นคำขอ ยื่นคำขอในด้านที่ ศร.มรร. ไม่มีประสบการณ์มาก่อน เจ้าหน้าที่ฝ่ายรับรองจะดำเนินการทบทวนในเรื่องชนิดผลิตภัณฑ์ หรือ มาตรฐานอ้างอิงบังคับ หรือ รูปแบบการรับรอง ที่เกี่ยวข้องกับการรับรองดังกล่าว เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการรับคำขอ และหากตรวจสอบแล้วพบว่า ศร.มรร. มีความสามารถและศักยภาพที่จะดำเนินการ ให้จัดทำบันทึกผลการทบทวน ความสามารถของบุคลากรของ ศร.มรร. และชี้แจงเหตุผลการตัดสินใจที่จะดำเนินการรับรอง

หากพบว่าคำขอนั้นไม่สามารถดำเนินการรับคำขอได้ เนื่องจาก ศร.มรร. ขาดความสามารถและศักยภาพที่จะดำเนินกิจกรรมการรับรองที่จำเป็นต้องดำเนินการ ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายรับรองจัดทำบันทึกผลการทบทวน ความสามารถ ของบุคลากรของ ศร.มรร. และชี้แจงเหตุผลการตัดสินใจที่จะไม่ดำเนินการรับรอง

  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายรับรอง ดำเนินการวางแผนตามรายละเอียดในคู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงาน เรื่อง การวางแผนการตรวจประเมิน (PM-02) ต่อไป โดย ศร.มรร. จะแจ้งกำหนดการตรวจประเมินให้แก่ผู้ยื่นคำขอทราบ ภายใน 30 วันทำการ หลังจากวันที่รับคำขอ