นโยบายคุณภาพและวัตถุประสงค์ เป้าหมายคุณภาพ

นโยบายคุณภาพ

ศูนย์รับรองสินค้าเกษตรปลอดภัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (ศร.มรร.) เป็นหน่วยงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการด้านการตรวจสอบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรตามมาตรฐานสากล ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการของ ศร.มรร. บรรลุตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงได้กำหนดนโยบายคุณภาพสำหรับการดำเนินงานของ ศร.มรร. ไว้ดังนี้

“ศร.มรร. เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านการตรวจสอบรับรองมาตรฐานพืช GAP ตามมาตรฐานสากล พร้อมด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ปฏิบัติงานด้วยความโปร่งใส เป็นกลาง และเป็นธรรม”

 

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ในการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้สามารถบรรลุนโยบายคุณภาพที่กำหนดไว้ข้างต้น ดังนี้

  • ดำเนินการตามกระบวนการตรวจสอบและให้การรับรองระบบการผลิตพืช GAP ให้สอดคล้องตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17065
  • ดำเนินการตรวจประเมินและให้การรับรองแก่ผู้ขอการรับรองด้วยความถูกต้อง โปร่งใส เป็นกลาง และเป็นธรรม
  • สรรหาทรัพยากร และพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถและเพียงพอต่อการดำเนินการ

 

เป้าหมายคุณภาพ

จากนโยบายคุณภาพ เพื่อให้งานตรวจรับรองระบบการผลิตพืช GAP เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ศูนย์รับรองสินค้าเกษตรปลอดภัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ (ศร.มรร) ได้กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และแผนปฏิบัติการในแต่ละงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน รวมทั้งมีการวางแผนและติดตามประเมินผลที่จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิผลของนโยบายคุณภาพ โดยมีการกำหนดเป้าหมายคุณภาพประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. 2563 ไว้ดังนี้

  1. เป็นหน่วยรับรองที่มีการปฏิบัติตามระบบงานด้านการตรวจสอบรับรองระบบการผลิตพืช GAP ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17065: 2012
  2. จำนวนข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้อง โปร่งใส เป็นธรรม ในการรับรองระบบ

การผลิตพืช GAP ไม่เกิน 5 % ของจำนวนผู้ยื่นคำขอ/ผู้ได้รับการรับรองในแต่ละปี

  1. เจ้าหน้าที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการรับรองระบบการผลิตพืช GAP ได้รับการฝึกอบรมในหลักสูตรที่จำเป็นที่เกี่ยวข้องกับงานอย่างน้อย 2 หลักสูตร/ปี

 

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ ศูนย์รับรองสินค้าเกษตรปลอดภัย มหาวิทยาลัย

ราชภัฏราชนครินทร์ จึงได้มีการประกาศชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องทราบ และเข้าใจอย่างชัดเจนเพื่อนำมาวางแผนการดำเนินงาน และนำมาปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพ มีการติดตามผลเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดและปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีการสรุปประสิทธิผลการดำเนินงานเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ เพื่อรายงานคณะทบทวนการบริหารระบบคุณภาพพิจารณาต่อไป